วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์



  • ประวัติ 

    สืบเนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในเส้นทางรถไฟช่วงสถานีรถไฟแก่งเสือเต้นถึงสถานีรถไฟสุรนารายณ์ (เดิม) ซึ่งเส้นทางรถไฟตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับการกักเก็บน้ำของเขื่อน ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ต้องย้ายเส้นทางรถไฟที่จะถูกน้ำท่วมให้ทันกับการสร้างเขื่อน พร้อมทั้งสร้างที่หยุดรถไฟบริเวณดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งนั้นได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 เมษายนพ.ศ. 2540 ใช้เวลา 14 เดือน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนพ.ศ. 2541 ทางรถไฟที่ย้ายมาสร้างใหม่จะอยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำเป็นระยะทางรวม 24 กิโลเมตร เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เริ่มมีการเดินรถผ่านเส้นทางดังกล่าว ซึ่งจะเห็นขบวนรถวิ่งบนสันเขื่อนลัดเลาะไปข้างๆ อ่างเก็บน้ำ มองดูเหมือนขบวนรถวิ่งไปบนผิวน้ำ จนชาวบ้านเรียกกันว่า รถไฟลอยน้ำ ตลอด 2 ข้างทางจะได้ชมทัศนียภาพข้างทางรถไฟอันงดงาม

     

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รถไฟลอยน้ำ

     


     

     

     

     

     

     

วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560

สถานที่ท่องเที่ยว

นอกจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะทำการกักเก็บน้ำแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดลพบุรี ซึ่งทางด้านสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีหลากหลายสถานที่ ดังนี้
  1. ฝั่งจังหวัดลพบุรี
  • อาคารอเนกประสงค์ริมอ่างเก็บน้ำ มีสถานที่ปล่อยปลา และ จุดนั่งชมวิวริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
  • หอคอยเฉลิมพระเกียรติ พิพิธภัณฑ์ฯ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
  • สันเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งมีบริการรถลากจูง ชมสันเขื่อนฯ ไป - กลับความยาว 9,720 เมตร
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ g-njvoxjklyd


      2.  ฝั่งจังหวัดสระบุรี
  • พระพุทธรัตนมณีมหาบพิตรชลสิทธิ์มงคลชัย (หลวงปู่ใหญ่ป่าสัก) อยู่บริเวณท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระพุทธรัตนมณีมหาบพิตรชลสิทธิ์มงคลชัย





















ประโยชน์ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

  • เป็นแหล่งน้ำเพื่อ อุปโภค ของชุมชนในเขตจังหวัด ลพบุรี - สระบุรี 
  • เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานที่เกิดใหม่ในเขตจังหวัดลพบุรี-สระบุรี 
  • ช่วยป้องกันอุทกภัยในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำป่าสัก ในเขตจังหวัดลพบุรี-สระบุรี และ ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑลด้วย 
  • เป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลา และเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ - เป็นแหล่งน้ำเสริม เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในเขตกรุงเทพฯ 
  • เป็นแหล่งท่องเที่ยว
 

วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

จุดประสงค์ของโครงการ

       

             •  เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการเกษตร การอุปโภค-บริโภค และขาดน้ำสนับสนุนการพัฒนาด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้งเป็นประจำทุกปี
      

             • บรรเทาปัญหาการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

 













วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ความเป็นมาของโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

        โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
                   เป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยกรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ




ประวัติโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

        สืบเนื่องจากปัญหาการเกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักในฤดูน้ำหลากและขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน อันเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมถึงการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย จนกระทั่งวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้เปิดโครงการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก ภายหลังการศึกษาความเหมาะสม และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมแล้ว
        เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างกว่า 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 และทำพิธีปฐมฤกษ์กักเก็บน้ำเขื่อนในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จมาเป็นองค์ประธาน และในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามเขื่อนแห่งนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ "
         พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงทำพิธีเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542